วงจรชีวิตของมด

วงจรชีวิตของมด

มด 1 รัง ที่สำคัญที่สุดคือ นางพญา

รังมด 1 รัง จะประกอบไปด้วย 1. นางพญา 2. มดงาน 3. มดทหาร (บางชนิดอาจจะไม่มี) 4. ไข่ 5. ตัวอ่อน 6. ดักแด้ เริ่มต้น เมื่อนางพญามด 1 ตัว บินออกจากรังตามฤดูในช่วงเวลาและอากาศที่เหมาะสม มันจะผสมพันธุ์กับตัวผู้ชนิดเดียวกันที่บินออกมาจากรังเช่นกัน อาจจะเป็นรังอื่นๆ หลังจากผสมพันธุ์เสร็จแล้ว ตัวผู้จะตายลงในเวลาหลังจากนั้นไม่นาน ส่วนตัวเมียส่วนมากจะสลัดปีกออก เพื่อให้ง่ายต่อการขุดดิน หรือมุดรูต่างๆเพื่อที่จะทำรัง

หลังจากตัวเมียผสมพันธุ์แล้ว ถ้าเป็นมด Fully-Claustral นางพญาจะฝังตัวเองไว้ในรัง โดยอาจจะนำดินมาปิดทางเข้าออกไว้ เพื่อความปลอดภัย เนื่องจากช่วงเวลานี้เป็นช่วงสำคัญมากๆของนางพญา นางพญา Fully นั้นมีสารอาหารติดตัวมาจากรังแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องหาอาหารกิน นางพญาจะออกไข่ เลี้ยงดูตัวอ่อน จนกระทั่งตัวอ่อนกลายเป็นมด แล้วมดจะเปิดรูที่นางพญาปิดไว้ออกไปหาอาหารเอง ส่วนนางพญา Semi-Claustral มดจะหาที่ทำรังที่ปลอดภัย แต่จะออกมาหาอาหารกินบ้างเพื่อนำสารอาหารไปผลิตไข่และเลี้ยงตัวอ่อน

** เคยอ่านมาว่า บางครั้งนางพญาจะวางไข่แค่เพียงครั้งเดียวหลังจากออกผสมพันธุ์ แล้วจะไม่วางไข่อีก จนกว่าจะมีมดงานชุดแรกเกิดขึ้นมา (นี่เป็นเหตุผลที่ผมบอกทุกคนเสมอ ถ้าใครจับนางพญา Fully ได้ ให้ใส่หลอดทดลอง แล้วทิ้งไว้ในห้องมืด เพื่อที่นางพญาจะได้รู้สึกปลอดภัยและวางไข่ และไม่กินไข่ของตัวเอง)

หลังจากนางพญาผสมพันธุ์แล้ว และถูกทิ้งไว้ในห้องมืด ส่วนใหญ่จะออกไข่หลังจากนั้นไม่เกิน 1 อาทิตย์ แต่ก็มีบ้างที่อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะออกไข่ ช่วงเวลาต่างๆ ไข่>ตัวอ่อน>ดักแด้>มด นั้น ระยะเวลาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น ชนิดของมด สภาพอากาศต่างๆ และ อาหารการกิน

ยกตัวอย่าง

นางพญาอาจจะวางไข่ครั้งแรกแค่เพียง 10-15 ฟอง / ไข่ เป็น ตัวอ่อน ใช้เวลา 8-10 วัน / ตัวอ่อน เป็น ดักแด้ ใช้เวลา 6-12 วัน / ดักแด้ เป็น มด ใช้เวลา 9-16 วัน

แต่ในกรณีที่เป็นมดที่มีอัตตราการเติบโตสูงเช่นมดคันไฟ กระบวนการต่างๆจากไข่เป็นมด อาจใช้เวลาแค่เพียง 14 วันเท่านั้น ส่วนในกรณีมดปกติหรือมดที่มีอัตตราการเจริญเติบโตต่ำ อาจใช้เวลา 1 เดือน+ หรือกินยาวถึง 2 เดือน++ เราอาจจะเห็นว่ามดส่วนใหญ่ตัวอ่อนนั้นจะเข้าดักแด้เพื่อที่จะพัฒนาเป็นตัว แต่มีมดบางชนิดเช่นกัน ที่ตัวอ่อนไม่เข้าดักแด้ แต่จะค่อยๆพัฒนาเป็นตัวเลย

ภายในดักแด้ ตัวอ่อนจะค่อยเปลี่ยนร่างตัวเองเป็นมดตัวขาวๆ หลังจากนั้นจะเริ่มมีจุดดำๆที่ตา แล้วสีตัวจะค่อยๆเข็มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งพร้อมออกมาจากดักแด้ มดงานที่เพิ่งออกจากดักแด้จะมีสีที่อ่อนกว่ามดงานที่ออกมาจากดักแด้นานแล้ว

มดในดักแด้นั้นไม่สามารถออกมาจากดักแด้ได้เอง ต้องอาศัยมดงานตัวอื่นๆช่วยกันแกะดักแด้ออกมา หลังจากแกะออกมาจากดักแด้มดงานจะช่วยกันแกะใยต่างๆที่ติดตามขาตามตัวมดอีก เพื่อให้มดขยับได้ มดที่ไม่ได้ถูกแกะออกมาจากดักแด้เมื่อผ่านไปช่วงเวลาหนึ่งมดจะตัวแห้งตายอยู่ในดักแด้

การกระทำต่างๆนั้น มดมักจะรู้ดีที่สุดว่าช่วงเวลาไหนนั้นเหมาะสมที่จะออกบิน หรือ ช่วงเวลาไหนที่จะแกะมดงานออกจากดักแด้ หลังจากรังมดนั้นมีอายุประมาณหนึ่ง อาจจะ 4-6 เดือน มากหรือน้อยกว่านั้น หรือ มีมดงาน 40-50 ตัว+- ถ้ามดชนิดนั้นมีมดทหาร นางพญาจะเริ่มผลิตมดทหารออกมา

เมื่อรังมีขนาดใหญ่ระดับหนึ่งและมีอายุรังนับได้เป็นปี นางพญาจะเริ่มผลิต นางพญามด และ มดตัวผู้ เพื่อออกบินตามฤดูออกบินของมดตามชนิดของมัน (ตัวผู้และตัวเมียต่างกันอย่างไรให้ดูที่ปักหมุดหน้าเพจ)

มดงานสามารถมีอายุได้ถึง 1 ปี++ ส่วนนางพญานั้นสามารถมีอายุได้ยาว 10-20 ปี+ มดทุกตัวในรังนั้นเป็นมดตัวเมีย ไม่ว่าจะเป็นมดทหารหรือมดงาน มีเพียงมดตัวผู้ที่ออกบินผสมพันธุ์กับนางพญาเท่านั้นที่เป็นมดตัวผู้

** ปล. หลายอย่างขึ้นอยู่กับ ชนิดของมด และ ความเหมาะสมต่างๆ เช่นความพร้อมของนางพญา สภาพอากาศ อาหาร และ อื่นๆ เราไม่สามารถคาดเดาได้

Start typing and press Enter to search