มดตัดใบไม้ เพาะเชื้อรา Acronomyrmex versicolor (leaf cutter ant)

มดตัดใบไม้ เพาะเชื้อรา Acronomyrmex versicolor (leaf cutter ant)

มดตัดใบไม้ เพาะเชื้อรา Acronomyrmex versicolor (leaf cutter ant) อธิบายง่ายๆ มันคือมดที่ไปตัดเอาใบไม้ดอกไม้มาสร้างสวนเชื้อรา ทั้งตัวอ่อนและมดจะไม่กินอาหารอะไรใดๆเลยนอกจากเชื้อราที่มันสร้างขึ้นมาเท่านั้น

Leaf cutter ant เป็นหนึ่งในมดปราบเซียน นางพญาหนึ่งตัวเมื่อถึงฤดูออกบินผสมพันธุ์ นางพญาจะกลืนเอาสิ่งที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็น “หัวเชื้อของเชื้อรา” ติดตัวออกมาด้วย (เอามาจากก้อนเชื้อราในรังนั้นแหละ) (ของเหลวสีน้ำตาลรูป) ถ้านางพญาตัวไหน ทำหัวเชื้อของเชื้อรานี้หายลงไปในดินหรือทำพัง นางพญาตัวนั้นเตรียมตัวตายได้เลย เพราะตามธรรมชาติมันไม่มีเชื้อราไหนที่จะมาทดแทนเชื้อรานี้ได้ น่าเป็นเชื้อราเฉพาะเจาะจงของมดแต่ละชนิดเท่านั้น ซึ่งไอเชื้อรานี้จะเจริญเติบโตขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนางพญาออกไปเอาใบไม้ดอกไม้ทั้งแบบแห้งและแบบสดมาแปะๆไว้ที่เชื้อรา เพื่อให้เชื่อราเจริญเติบโตขึ้นบนใบไม้ดอกไม้ นี้เป็นเหตุผลที่เราจะเห็นภาพมด Leaf cutter ant แบกใบไม้ไปมาในภาพต่างๆตามอินเตอร์เน็ต

** พูดง่ายๆว่ามดนี่คือมด Semi-Cluastral เวอร์ชั่นกินผัก 555+++

การจับมดชนิดนี้ต้องไปจับหลังจากมดออกบินหรือกำลังขุดทำรังยังไม่เสร็จเท่านั้นเพื่อที่จะมีเปอร์เซ็นสูงว่ามดยังไม่ได้คายหัวเชื้อของเชื้อราออกจากร่างกาย ถ้ามดขุดรังลงไปจนเสร็จแล้วมดจะคายหัวเชื้อของเชื้อราออกจากร่างกาย ขุดนางพญามดขึ้นมาหลังจากระยะนี้ไม่เกิดประโยชน์อะไรเพราะมดไม่มีเชื้อราสุดท้ายมันจะตาย

แต่เดี๋ยวก่อน มดชนิดนี้สามารถเอาเชื้อราจากรังอื่นๆมาป้อนให้กันนางพญาที่เพิ่งออกบินแต่ไม่สำเร็จในการสร้างสวนเชื้อราได้ ผู้เลี้ยงที่มีรังมดชนิดนี้ขนาดใหญ่มีเชื้อราก้อนใหญ่ๆไม่จำเป็นต้องจับมดทันทีหลังจากมดออกบิน แต่สามารถจับตอนไหนก็ได้ โดยการจับนางพญาใหม่มา แล้วก็เอาก้อนเชื้อราจากรังที่เลี้ยงไว้อยู่ก่อนแล้วมาแบ่งให้นางพญาใหม่ แต่หลายๆครั้งถึงแม้จะเอาเชื้อราจากรังที่มีอยู่ก่อนมาให้นางพญาใหม่ แต่นางพญาใหม่ไม่ยอมเลี้ยงเชื้้อราต่อและปล่อยให้เชื้อราตายก็มี

การเลี้ยงมดชนิดนี้คือการเลี้ยงเชื้อราให้รอด ถ้าเชื้อรารอดมดรอด เชื้อราตายมดตาย เท่าที่รู้มาเชื้อราต้องการความชื้นสูงในการเจริญเติบโต อากาศที่ไม่ร้อนและไม่หนาวจนเกินไปและมีความคงที่ เช่น อากาศ 27 องศาตลอดทุกเวลา ไม่ขึ้นลงบ่อย มันน่าเหลือเชื่อไหมครับ ที่เชื้อราก้อนใหญ่โตเกิดขึ้นมาจากของเหลวสีน้ำตาลเล็กๆที่มดคายออกมาจากร่างกาย

มดชนิดนี้ชอบทำรังอยู่ใต้ต้นไม้ เพราะต้นไม้ให้ร่มเงาทำให้อากาศใต้ดินไม่ร้อนจนเกินไป รวมถึงง่ายต่อการหาอาหารของมด เวลาออกบินผสมพันธุ์ มดชนิดนี้ไปไหนไม่ไกลจากรังเดิมมากนัก รวมถึงนางพญาขุดรังติดๆกันเต็มไปหมดห่างกันไม่เกิน 2-3 นิ้ว ภายในพื้นที่แคบๆแค่ 12 x 12 นิ้ว สามารถเจอนางพญาทำรังอยู่ติดๆกันได้ถึง 8 ตัว ผมกล้าพูดเลยว่าสุดท้ายแล้วมีแค่นางพญาไม่กี่ตัวเท่านั้นที่จะอยู่รอดจนสร้างรังใหญ่โตได้ อาจจะแค่ 5 ใน 100 ก็ได้ มดที่อยู่ตามธรรมชาติ เจอเรื่องราวที่โหดร้ายมากกว่ามดเลี้ยงเยอะ สุดท้ายแล้วขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของมดด้วย ถ้าเป็นพวก Atta เคยอ่านมาว่าเรื่องมากและซับซ้อนมากกว่านี้

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart

ไม่มีสินค้าในตะกร้า