วิธี Brood Boosting Ant (การเพิ่มจำนวนมดงาน)

วิธี Brood Boosting Ant (การเพิ่มจำนวนมดงาน)

การ Brood Boosting นั้นมีประโยชน์ในหลายๆด้านเกี่ยวกับการเลี้ยงมด เช่น 

  • การเพิ่มจำนวนประชากรมดงานในรัง
  • การเพิ่มจำนวนมดงานในรังเพื่อให้มดงานช่วยเลี้ยงดูไข่และตัวอ่อนโดยเฉพาะในกรณีที่นางพญามดเพิ่งจะสร้างรังและนางพญานั้นเป็นพวกที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการเลี้ยงดูลูกของมันสักเท่าไหร่เช่นชอบกินไข่หรือตัวอ่อนของตัวเอง
  • ช่วยในกรณีที่นางพญามดนั้นผสมพันธุ์แล้วแน่นอน แต่ไม่ยอมออกไข่ การ Brood Boosting มีส่วนช่วยให้นางพญากลับมาออกไข่
  • แน่นอนว่าเพิ่มโอกาศอยู่รอดของรังในช่วงแรกๆ

หลักการและในการทำ Brood Boosting

การ Brood Boosting ในกรณีที่มีนางพญาและมดงานนิดเดียวควร Brood Boost ด้วยดักแด้(ช่วงระหว่างตัวอ่อนและมดงาน)เพราะดักแด้ไม่ต้องให้อาหารและไม่ต้องการการดูแลมากนัก ไม่ควร Brood Boost ตัวอ่อนของมดให้กับนางพญามากนัก ในกรณีที่ไม่มีมดงานหรือมีมดงานน้อย เพราะอาจจะป้อนอาหารให้กันไม่ทัน และจะเป็นงานหนักสำหรับนางพญาในกรณีที่ไม่มีมดงาน ห้าม Brood Boost ด้วยการใส่มดงาน มีเพียงมดไม่กี่ชนิดที่มดงานสามารถไปรวมกันรังอื่นๆได้

Brood Boosting คือการเพิ่มจำนวนมดงานโดยนำเอาตัวอ่อนหรือดักแด้ของมดงานสายพันธุ์เดียวกันมาเพิ่มให้กัน โดยการ Brood Boosting นั้นควรเป็นมดสายพันธุ์เดียวกันหรือมีความใกล้ชิดกันทางสายพันธุ์ ไม่ควรนำมดต่างสายพันธุ์มา Brood Boosting

เปรียบง่ายๆคือ

มดสายพันธุ์เดียวกัน คุยภาษาเดียวกันทำให้คุยกันรู้เรื่องหรือประเทศอยู่ติดกันแม้จะพูดกันคนละภาษาแต่ก็ยังพอคุยกันรู้เรื่อง มดคนละสายพันธุ์กันพูดคนละภาษา การแสดงออกการใช้ชีวิตต่างกันคุยกันไม่รู้เรื่อง

จากการทดลอง(มดทุกรังที่ทดลองเป็นมดคนละสายพันธุ์กันหมด เนื่องจากเลี้ยงไว้เพียงแค่สายพันธุ์ละ 1 รัง)

1. เอาไข่มดมาลองสลับปรับเปลี่ยนกันในแต่ละรังในหมู่มดตะลานรวมถึงเอาไข่ทั้ง 2 ชนิดมารวมกันแล้วเอากลับใส่รัง มดงานเจ้าของรังสามารถแยกแยะได้ว่าอันไหนคือไข่สายพันธุ์เดียวกับมันและอันไหนไม่ใช่ไข่สายพันธุ์เดียวกัน ถึงแม้ว่าไข่ 2 ฟองจะติดกัน มดจะดึงไข่ของมันออกไปเก็บไว้และกินไข่ที่ไม่ใช่สายพันธุ์เดียวกันกับมันทันที

2. ทดลองโดยการนำตัวอ่อนของมดมารวมกันแล้วเอาใส่รัง จากการทดลองจากหลายรังมีเพียงตัวอ่อนตัวเดียวที่อยู่รอดออกมาจนเป็นมดงานต่างสายพันธุ์(ตามรูป) นอกนั้นโดนกินเรียบ โดยการนำตัวอ่อนหลายๆตัวมาติดๆกันแล้วใส่เข้ารังมดสามารถแยกแยะได้ว่าตัวอ่อนตัวไหนมาจากรังของมันและตัวอ่อนตัวไหนไม่ใช่ มดกินตัวอ่อนที่ไม่ได้มาจากรังของมันทันที

3. การทดลองโดยนำตัวอ่อนและดักแด้ของมดต่างสายพันธุ์ที่จับได้จากธรรมชาติมาใส่ให้กับมดสายพันธุ์ต่างๆเป็นจำนวน 10 กว่ารัง ตัวอ่อนและดักแด้ที่กระจายแจกจ่ายให้แต่ละรังโดนกินเป็นโปรตีนเรียบ ส่วนใหญ่จะถูกฆ่าทันทีเมื่อมดงานมาเจอ

สรุป การ Brood Boosting คือการนำ ไข่ ตัวอ่อน หรือ ดักแด้ ของมดชนิดเดียวกันมาเพิ่มจำนวนให้แก่รังที่มีมดงานน้อยหรือไม่มีเลยเพื่อเพิ่มโอกาศอยู่รอดของรัง ควรเป็นมดสายพันธุ์เดียวกันและการ Brood Boosting นั้นไม่ 100% มีโอกาสเหมือนกันที่มดในรังจะไม่ยอมรับตัวอ่อนหรือดักแด้ที่เรา Brood Boost

 

 

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart

ไม่มีสินค้าในตะกร้า