Termite 101 – วงจรชีวิตของปลวก
น่าจะมีไม่กี่คนที่รู้ว่าผมเคยเลี้ยงปลวกด้วยนะ แต่เลี้ยงไม่รอด เลี้ยงได้อยู่ 6 เดือน ปลวกงานค่อยๆตายทีละตัว สุดท้ายแล้วปลวกนางพญาและปลวกราชาก็ตายพร้อมกัน ปลวกเป็นแมลงสังคมอีกชนิดที่เจ๋งมากๆ มันมีความซับซ้อนมากกว่ามดและมีวรรณะที่หลากหลายกว่า ปลวกออกลูกเป็นไข่เหมือนมด ต่างจากมดตรงที่ว่ามดออกลูกเป็นไข่จากไข่จะเป็นหนอนตัวอ่อนแล้วเข้าดักแด้ ปลวกก็ออกลูกเป็นไข่เช่นกัน แต่จากไข่จะเป็นปลวกจิ๋วตัวเล็กๆสีขาวแล้วค่อยๆลอกคราบเปลี่ยนร่างไปเรื่อยๆจนเป็นปลวกวรรณะที่รังต้องการ
ตลอดระยะเวลาที่ผมเฝ้ามองรังปลวกเล็กๆรังนี้ ผมเห็นพ่อแม่ปลวกที่คอยดูแลไอปลวกจิ๋วนี่ด้วยความรัก ด้วยการดูแลประคบประหงมทำความสะอาด คาบพามันไปตามที่ต่างๆ บางครั้งก็เห็นสองปลวกผัวเมียจุ๊บปากกันอยู่บ่อยๆ คงจะแลกเปลี่ยนอาหารกัน ปลวกตัวผู้จะอยู่ข้างๆปลวกตัวเมียเสมอ ปลวกนั้นมีความรักที่ยั่งยืนมากๆ ทั้งคู่จะอยู่ข้างกันและกันจนกว่าตัวใดตัวหนึ่งจะตายจากกันไป ถึงจะมีคู่ครองใหม่
ถ้าเรามองว่ามันเป็นแค่ปลวก มันก็คือปลวกนั้นแหละ เป็นแมลงที่ทุกๆคนในโลกนี้รังเกรียจ แต่ถ้ามองให้ลึกๆปลวกก็คือแมลงสังคมไม่ต่างจากมด แถมปลวกมีทั้งราชา ราชินี ปลวกงาน ปลวกทหาร มีปลวกเมียน้อยด้วย ปลวกงานช่วยดูแลตัวอ่อน ป้อนอาหาร หรือทำกิจกรรมต่างๆคล้ายๆกับมด ปลวกบางชนิดเพาะเห็ดเพาะเชื้อรากินเป็นอาหาร
ปลวกที่ผมอยากจะเลี้ยงมากๆหลังจากกลับไทยไม่ใช่ปลวกตามบ้านคน แต่เป็นปลวกที่อาศัยอยู่ในป่า สร้างรังเป็นเนินดินขึ้นมาสูงๆ เพาะเชื้อรากินเป็นอาหารอยู่ในรังใต้ดิน มีปลวกทหารเท่ๆตัวใหญ่ๆฟันแหลมๆ ตัวดำๆ นั่นปลวกในฝันเลย (Macrotermes carbonarius) ต้องไปหามาเลี้ยงให้ได้ จะได้มีเรื่องปลวกให้เขียนเพิ่มจากมดด้วย
Termite 101 – วงจรชีวิตของปลวก
เริ่มต้นจาก พื้นฐานวงจรชีวิตของปลวกละกัน ก็เป็นการเรียนรู้ไปด้วยกันแล้วกันนะครับ เพราะผมก็ไม่ได้รู้เรื่องเกี่ยวกับปลวกมากนัก ถ้าผิดพลาดตรงไหน รบกวนแย้งด้วย
1. Swarming – Nuptial flight – Wing Loss คือ ช่วงฤดูออกบินของแมงเม่า โดยอาจจะเกิดขึ้น ปีละ 1 ครั้ง หรือมากกว่านั้น ในช่วงฤดูที่เหมาะสมของปี ขึ้นอยู่กับชนิดของปลวก ซึ่งแมงเม่าจะออกบินในเวลาที่เหมาะสม เช่น ฝนตกหลังจากอากาศแห้งแล้งมานาน ฝนตกทำให้ดินอ่อน และแมงเม่าสามารถขุดดินลงไปทำรังได้
เมื่อแมงเม่าบินออกมาจากรัง ตัวเมียจะปล่อยกลิ่น “ฟิโรโมน” เพื่อดึงดูดตัวผู้ เมื่อตัวผู้กับตัวเมียได้มาพบเจอกัน ตัวเมียจะเดินนำหน้าเพื่อหาสถานที่เหมาะสมเพื่อขุดลงไปทำรัง ตัวผู้จะเดินตามตูดตัวเมียอย่างไม่ห่าง ทั้งคู่จะสลัดปีกออกระหว่างนี้
ในจำนวนแมงเม่าที่บินออกมามากมายหลายพันตัว แต่จะมีเพียงไม่กี่คู่ที่จะอยู่รอดปลอดภัยจนสามารถสร้างอาณาจักรใหญ่โตได้ เนื่องจากแมงเม่ามีศัตรูตามธรรมชาติเยอะมาก ทั้งจิ้งจก คางคก มด สิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่พร้อมจะเข้ามารุมกินโต๊ะจีน
2. The Cycle Goes On – King And Queen หลังจากปลวก ตัวผู้และตัวเมีย ได้พบเจอกัน พากันไปหาที่ปลอดภัยเพื่อเริ่มอาณาจักร อาจจะเป็นไม้ผุๆชื้นๆ หรือ ใต้ดิน ที่มีอาหารสำหรับปลวก พวกมันจะเริ่มผสมพันธุ์กัน ออกไข่ และสร้างอาณาจักร
เกริ่นก่อน มดตัวผู้กับตัวเมีย มดตัวผู้นั้นมีอายุสั้นมาก จะตายลงไม่นานหลังจากผสมพันธุ์ มดตัวเมียสามารถผสมพันธุ์กับตัวผู้ได้หลายตัวในช่วงเวลาผสมพันธุ์ และจะผสมพันธุ์เพียงแค่ครั้งเดียว เพราะว่ามดตัวเมีย มีอวัยวะไว้เก็บน้ำเซื้ออสุจิของมดตัวผู้ เรียกว่า “Spermatheca” ซึ่งจะเก็บน้ำเซื้อของมดตัวผู้ไว้ใช้ตลอดอายุขัยของมัน
ต่างกับปลวก ที่ต้องใช้ทั้งปลวกตัวผู้และปลวกตัวเมีย เพราะปลวกตัวเมียไม่มีอวัยวะเก็บน้ำอสุจิ ปลวกตัวผู้จึงมีหน้าที่ผสมพันธุ์กับปลวกตัวเมียตลอดอายุขัย เราจึงเห็นว่าเวลาขุดรังปลวกขึ้นมา จะเห็นปลวกตัวผู้อยู่ข้างๆปลวกตัวเมียเสมอ
ต่างกับปลวก ที่ต้องใช้ทั้งปลวกตัวผู้และปลวกตัวเมีย เพราะปลวกตัวเมียไม่มีอวัยวะเก็บน้ำอสุจิ ปลวกตัวผู้จึงมีหน้าที่ผสมพันธุ์กับปลวกตัวเมียตลอดอายุขัย เราจึงเห็นว่าเวลาขุดรังปลวกขึ้นมา จะเห็นปลวกตัวผู้อยู่ข้างๆปลวกตัวเมียเสมอ
3. Eggs ไข่ นางพญาจะออกไข่เพียงแค่ไม่กี่ฟองในช่วงแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆยิ่งอายุรังมากขึ้น นางพญาก็จะออกไข่มากขึ้น และ ถี่ขึ้น อาจจะออกไข่ได้มากถึงหลายหมื่นฟอง??? ต่อวัน มีการคำณวนว่า ภายในช่วงอายุ 15 ปี ของนางพญาปลวก นางพญาอาจจะออกไข่มากถึง 165 ล้านฟอง เลยทีเดียว
ในบางรัง นางพญาอาจจะผลิต “Supplementing Queens” หรือ “ปลวกเมียน้อย” เพื่อช่วยออกไข่เพิ่มในการขยายรัง ระยะเวลาจากไข่เป็น Larvae – ตัวอ่อนปลวก อาจใช้เวลามากถึง 1 เดือน +- ขึ้นอยู่กับ สภาพอากาศเป็นปัจจัยด้วย (อากาศหนาวใช้ระยะเวลานาน อากาศอบอุ่นใช้ระยะเวลาเร็วขึ้น)
4. Larvae ตัวอ่อนปลวกจิ๋วๆตัวสีขาวๆ เพิ่งออกมาจากไข่ ต้องผ่านการลอกคราบอีกหลายต่อหลายครั้งจนกระทั่งกลายเป็นปลวกตัวใหญ่
5. Nymph เป็นปลวกตัวอ่อนระยะสุดท้ายต่อจาก Larvae เป็นตัวอ่อนปลวกที่จะพัฒนาเป็นปลวกในวรรณะต่างๆ เช่น ปลวกเมียน้อย, ปลวกงาน, ปลวกทหาร, และ ราชา ราชินี ในอนาคต ขึ้นอยู่กับความต้องการของรัง
5.1. Supplemental King and Queen – ปลวกเมียน้อย ถ้าเกิดในรังต้องการ ปลวกตัวผู้หรือตัวเมียเพิ่มเติม เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของอาณาจักรเช่นออกไข่เพิ่ม ตัวอ่อนปลวกสามารถพัฒนามาเป็นปลวกในวรรณะนี้ได้ (รู้สึกว่าจะถูกควบคุมโดย ฟิโรโมน ของตัวปลวกราชา-ราชินีหลัก เดี๋ยวผมจะมาเขียนข้อมูลตรงจุดนี้อีกทีหนึ่ง) และปลวกวรรณะนี้ยังสามารถมาแทนที่ ราชา-ราชินีหลักได้ ในกรณีที่ตัวหลักนั้นตายหรือบาดเจ็บ เพื่อไม่ให้อาณาจักรล่ม
5.2. Workers – ปลวกงาน เป็นปลวกตาบอด มีหน้าที่หาอาหาร สร้างอุโมง ดูแลสิ่งต่างๆในรัง ดูแลไข่ ป้อนอาหารตัวอ่อน ป้อนอาหารราชา-ราชินี ทำความสะอาด และอื่นๆ
5.3. The Soldiers – ปลวกทหาร มีหน้าที่หลักๆคือ ปกป้อง ป้องกันรัง จากมดหรือศัตรูชนิดอื่นๆ เป็นปลวกตาบอด หากินเองไม่ได้?? ต้องได้รับการป้อนอาหารจากปลวกงาน
5.4. Winged Reproductives – แมงเม่า ตัวผู้และตัวเมีย ปลวกมีปีก บินออกมาจากรังเพื่มจับคู่สร้างอาณาจักรใหม่ รังต้องมีอายุนับเป็นปี และมีอาณาจักรแข็งแรงระดับหนึ่งถึงผลิตแมงเม่าออกมา
Credit – MEGAPEST SERVICE SDN. BHD.